www.graphicproduce.com
  เพิ่มเพื่อน แผนที่กราฟฟิกโปรดิวซ์ รับทำป้ายโฆษณา

แหล่งโบราณคดีเตาอินทขิล (เชียงใหม่)

InthakhinArchaeologicalSite

แหล่งโบราณคดีอินทขิลเมืองแกน      

            ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๑ บ้านสันป่าตอง  ต.อินทขิล  อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่  รหัสไปรษณีย์ ๕0๑๕0                 โทรศัพท์ 0๕๓ -๘๕๗๓๖0 โทรสาร 0๕๓ – ๔๗๙๑๒0           

    

ความเป็นมาเตาเผาอินทขิล
              เมืองแกนมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานหลายร้อยปีเป็นชุมชนโบราณก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านนาตั้งแต่สมัยพญามังรายครองเมืองเชียงใหม่(พ.ศ.1801– พ.ศ.1854) ผู้คนในล้านนาสมัยนั้นสร้างสรรค์วัฒนธรรม อารยธรรม วัดวาอาราม กำแพงเมืองคูโบราณ สิ่งก่อสร้างต่างๆคิดค้นเทคโนโลยี ผลิตศิลปกรรม วรรณกรรม และ หัตกรรมต่างๆ ทิ้งไว้เป็นหลักฐานทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์อันเป็นมรดกของดินนี้มากมาย บริเวณเมืองแกนนี้มีที่ราบที่กว้างขวางซึ่งประชาชนเรียกพื้นที่ราบนี้ว่า“ทุ่งชิ้นแห้ง”ซึ่งเป็นการเปรียบเปรยให้เห็นภาพกว้างใหญ่ของพื้นที่ราบนี้ว่า    “ขนาดที่หาบเนื้อสดผ่านทุ่งนี้กว่าจะถึงอีกฟากหนึ่งเนื้อสดก็กลายเป็นเนื้อแห้งพอดี” และบริบทของชุมชนส่วนใหญ่นั้นประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำ

                 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2539 กรมศิลปากร โดยมีนายสายันต์   ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดี 7 ว. ฝ่ายวิชาการ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่ ได้เขียนถึงประวัติศาสตร์เตาเผาที่สำคัญแห่งนี้ว่า                      เมื่อปี พ.ศ. 2537 นายภาสกร โทณวนิก อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฎเชียงใหม่ และรศ. สรัสวดี อ๋องสกุล อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฎเชียงใหม่ ได้สำรวจค้นพบร่องรอยดินเผาไฟรูปทรงกลมในบริเวณนายดวงดี  ใจทะนง ราษฎรบ้านสันป่าตอง หมู่ที่ 11 ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยูในเขตเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนานาและทำไร่เป็นหลัก     

                  จากการค้นพบแหล่งเตาเผาโบราณบริเวณพื้นที่ ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่พบว่าเป็นแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยชาม (Ceramic kiln sites) ซึ่งเป็นแหล่งใหม่ล่าสุดที่ค้นพบและศึกษาอันเป็นหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์สำคัญของประเทศไทย และยังเป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ของ ล้านนามีอายุระหว่าง 500-600 ปี

                   หลักฐานที่พบส่วนใหญ่เป็นเครื่องถ้วยชามที่เป็นถ้วยชามเนื้อแกร่ง เคลือบสีเขียวอ่อน หรือ ศิลาดล (light green glazed stoneware/celadon ware) และชนิดเคลือบสีน้ำตาล (greenish brown glazed stoneware)  โดยใช้ดินสีขาวคุณภาพเยี่ยม

                   แหล่งเตาอินทขิลเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญอย่างมาก ทั้งทางด้านวิชาการโบราณคดี และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของอาณาจักรล้านนา เพราะเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยชามในอดีตแหล่งใหม่ที่มีความสมบูรณ์ทั้งเตาเผา และตัวอย่างเศษถ้วยชามที่มีมากถึง 4 แห่ง ซึ่งจากการขุดค้นแหล่งเตาเผาในภาคเหนือตอนบนยังไม่เคยพบแหล่งใด ที่มีความสมบูรณ์สวยงามเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นจึงมีการสนับสนุนให้อนุรักษ์และพัฒนาเป็นศูนย์การศึกษาเทคโนโลยี การผลิตเครื่องถ้วยชามโบราณของล้านนา รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณคดี(Archaeological Site-Museum)  (อธิชัย ต้นกันยา,2550 น.34)

                    ในปัจจุบันเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนาถือว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชน ซึ่งการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในฐานะ         ที่เป็นเครื่องมือในกระบวนการพัฒนาชุมชนจะช่วยให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และทักษะในการจัดการจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพไปสู่ชาวบ้านและสร้างจิตสำนึกในเรื่องความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรวัฒนธรรมในชุมชนของตนเอง

http://61.7.233.3/cd/index.php?pg=rsview&id=61



| ป้ายตัวอักษรสแตนเลส | ป้ายตัวอักษรสังกะสี | ป้ายตัวอักษรทองเหลือง | ป้ายตัวอักษรทองแดง | อักษรโลหะ | ป้ายกล่องไฟ | สมัครงาน
 
Graphicproduce Co.,Ltd.
Tel/FAX:02-538-6823 Mobile:081-866-8060 E-mail: [email protected]
ที่อยู่: 5/4 หมู่บ้านกู๊ดวิลล์ ซอยนาคนิวาส 30 ถนนนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230