www.graphicproduce.com
  เพิ่มเพื่อน แผนที่กราฟฟิกโปรดิวซ์ รับทำป้ายโฆษณา

วัดแสนฝาง (เชียงใหม่)

WatSaenFangTemple

วัดแสนฝาง เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๘ ถนนท่าแพ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๖๘ ตารางวาและมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๙๐ ตารางวา ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย 

ตามตำนานเล่าว่าวัดแสนฝางสร้างขึ้นในสมัยพระญาแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณปี พ.ศ.๒๑๑๙ และคงอยู่จนกระทั่งถึงสมัยพระญากาวิละ โดยวัดแห่งนี้ได้รับความอุปถัมภ์ด้วยดีจากเจ้านครเชียงใหม่ทุกพระองค์ ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในแผ่นจารึกไม้สักในวัด ซึ่งติดอยู่ที่หอพระไตรปิฎกว่า

ชื่อวัดแสนฝางแต่เดิมเรียกกันว่า “วัดแสนฝัง” โดยที่มาของชื่อนี้ คือการที่พระเจ้าแสนภูทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้กับพุทธศาสนา  ตามอย่างพระเจ้าปู่และพระราชบิดา อีกทั้งพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะฝังพระราชทรัพย์เหล่านั้นไว้ในที่รกร้างว่างเปล่าใกล้ ๆ แม่น้ำสายเล็ก ห่างจากแม่น้ำระมิงค์พอประมาณ

เมื่อพระเจ้าแสนภูทรงตัดสินพระทัยสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อสร้างวัดขึ้นเป็นการฝากพระราชศรัทธาและพระราชสมบัติของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนาแล้ว สถานที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า “วัดแสนฝัง” โดยคำว่า “แสน” มาจากชื่อของพระเจ้าแสนภูและคำว่า “ฝัง” คือการบริจาคพระราชทรัพย์ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดแสนฝัง” หรือ “วัดแสนฝาง” มาตราบเท่าทุกวันนี้


โบราณวัตถุสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดแสนฝางประกอบด้วย 
- วิหารลายคำ ๑ หลัง ซึ่งพระเจ้าอนทวิชยานนท์และเจ้าทิพเกษรราชเทวีได้โปรดให้รื้อพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ไปปรับปรุงดัดแปลงสร้างเป็นวิหารปิดทองล่องชาดทั้งหลังและถวายวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ ( จ.ศ. ๑๒๓๙ )

มีการทำบุญฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ วิหารหลังนี้เป็นทรงล้านนา หลังคาเตี้ยและลาดต่ำ ประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลักและปูนปั้นปิดทอง ขนาดความยาว ๔๙ เมตร กว้าง ๑๒ เมตร

• เจดีย์ทรงพม่า (แบบพระเจดีย์ชเวดากอง) หลักฐานกล่าวว่าพระครูบาโสณโณเถระ ได้ทำการบูรณะสร้างเสริมเจดีย์โดยทำเป็นแบบพม่า มีขนาดความกว้าง ๑๘.๗ เมตร สี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง ๔๙ เมตร
- พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ ลักษณะรูปทรงเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูนชั้นบนเป็นโครงสร้างไม้ 
- กุฏิเจ้าอาวาส สร้างสมัยพระครูบาโสภา ( เถิ้ม ) และรองอำมาตย์เอกหลวงโยนการพิจิตร แต่ไม่ปรากฏปีสร้างที่แน่นอนคาดว่ามีอายุร่วม ๑๐๐ ปี ( พ.ศ. ๒๕๓๙ ) ทรวดทรงและลวดลายผสมผสานกันแบบพื้นเมืองล้านนากับทางตะวันตก หน้าบันตกแต่งด้วยลวดลายทอง 
- หอไตรหลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ (จ.ศ. ๑๒๓๑)

- หอไตรหลังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ โดยท่านอธิการศรีหมื่น นนทวโร เป็นผู้ริเริ่ม ปัจจุบันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระเจดีย์ 
• ซุ้มประตูมงคลแสนมหาชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ กล่าวกันว่าที่มุมกำแพงด้านทิศ ตะวันออกมีหอคอยสูงเด่นทั้ง ๒ มุม คือมุมเหนือและใต้ สำหรับเป็นที่อยู่เวรยามของตำรวจและทหาร 

• ศาลาการเปรียญ 

• กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓ หลัง 

• ศาลาอเนกประสงค์ 

• พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน พระประธานในวิหารลายคำ 

เจ้าอาวาสวัดแสนฝางเท่าที่ทราบนามคือ เจ้าอธิการศรีหมื่น ฉนทวโร (พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๕๑๑) และพระครูประจักษ์พัฒนคุณ หรือ ถนอม ฐิตายุโก (พ.ศ. ๒๕๑๒ - )

วัดแสนฝาง ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีศิลปกรรมพม่าผสมอยู่ โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม นอกจากนี้ยังมีกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี เป็นจุดที่น่าสนใจอีกด้วย ตามประวัติเล่าว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ให้รื้อที่ประทับของพระเจ้ากาวิโรรสสุริวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 มาสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2420 ครั้นสร้างเสร็จแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองในปี พ.ศ. 2421



| ป้ายตัวอักษรสแตนเลส | ป้ายตัวอักษรสังกะสี | ป้ายตัวอักษรทองเหลือง | ป้ายตัวอักษรทองแดง | อักษรโลหะ | ป้ายกล่องไฟ | สมัครงาน
 
Graphicproduce Co.,Ltd.
Tel/FAX:02-538-6823 Mobile:081-866-8060 E-mail: [email protected]
ที่อยู่: 5/4 หมู่บ้านกู๊ดวิลล์ ซอยนาคนิวาส 30 ถนนนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230