www.graphicproduce.com
  เพิ่มเพื่อน แผนที่กราฟฟิกโปรดิวซ์ รับทำป้ายโฆษณา

เสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง (เชียงใหม่)

SaoInthakin

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00

เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง อำเภอเมือง เป็นหลักเมืองเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ปัจจุบันนี้อยู่ตรงหน้าวัดเจดีย์หลวง เสาอินทขิลนี้ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ หลักอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง

กิจกรรมในประเพณีเข้าอินทขิล

1. พิธีบูชาเสาอินทขิล

 พิธีนี้กระทำโดยการจุดธูปเทียน บูชาอินทขิล กับรูปกุมภัณฑ์ และฤาษี ทั้งนี้เพื่อให้บ้านเมืองอยู่สงบสุขร่มเย็น ช่วงเวลาสำหรับ ทำพิธีบูชาเสาอินทขิล คือ ช่วงปลายเดือน 8 ต่อต้นเดือน 9 วิหารอินทขิล จะเปิดให้ประชาชน เข้าไปสักการบูชา ตั้งแต่เช้า ซึ่งจะต้องทำพิธี พลีกรรม เครื่องบูชาดังนี้ 

2. พิธีใส่ขันดอก
           เป็นพิธีที่กระทำต่อ จากการจุดธูปเทียนบูชาอินทขิล ทางวัดจะเตรียมพานเรียงไว้เป็นจำนวนมากเพื่อให้ประชาชนนำดอกไม้ ที่ตนเตรียมมา ไปวาง ในพาน (ขัน) จนครบ เหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ การถวายดอกไม้เป็นการแสดงความเคารพบูชาแก่เสาอินทขิล กุมภัณฑ์ฤาษี และพระรัตนตรัย
 

3. การใส่บาตรพระประจำวันเกิด
           นอกจากเปิดวิหารอินทขิล จัดพาน รับดอกไม้แล้ว ทางวัดยังได้จัดเตรียมบาตร 7 ลูก วางไว้หน้าพระพุทธรูปประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน คือ
 

  • วันอาทิตย์ - พระพุทธรูปปางถวายเนตร
     
  • วันจันทร์ - พระพุทธรูปปางห้ามญาติ
     
  • วันอังคาร - พระพุทธรูปปางไสยาสน์
     
  • วันพุธ - พุทธรูปปางอุ้มบาตร
     
  • วันพฤหัสบดี - พระพุทธรูปปางขัดสมาธิ
     
  • วันศุกร์ - พระพุทธรูปปางรำพึง
     
  • วันเสาร์ - พระพุทธรูปปางนาคปรก
     

4. พิธีสรงน้ำพระเจ้าฝนแสนห่า
           พระเจ้าฝนแสนห่า คือ พระพุทธรูปซึ่งประดิษฐาน อยู่ที่วัดช่างแต้มซึ่งอยู่ใกล้ๆ วัดเจดีย์หลวง ชาวเชียงใหม่เชื่อว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีพุทธานุภาพ บันดาลให้ฝนตก ต้องตามฤดูกาล เทศบาลนครเชียงใหม่จึงอาราธนา มาประดิษฐาน บนรถแห่ไปตามถนน สำคัญ ใน เมืองให้ประชาชนสรงน้ำในวันแรม 12 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นวันเริ่ม งานประเพณี หลังจากนั้น ก็นำมาประดิษฐานไว้วงเวียนหน้า พระวิหาร วัดเจดีย์หลวง ทุกวันตลอดงาน พิธีเข้าอินทขิล เพื่อให้ประชาชน ที่ไปร่วมงาน ได้สรงน้ำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้อย่างทั่วถึง
 

5. พิธีสืบชะตาเมือง
 

         พิธีสืบชะตาเมือง เป็นพิธีที่กระทำหลังจากสิ้นสุดการบูชาเสาอิทขิลแล้วระยะหนึ่ง แต่ก็ยังคง อยู่ในช่วงครึ่งแรก ของเดือน 9 เหนือ ประเพณีมีขึ้นเนื่องจาก เมืองเชียงใหม่ สร้างชื้นตามหลัก โหราศาสตร์ และ การเลือกชัยภูมิ ตลอดจน มหาทักษา เพื่อให้ได้ชัยภูมิ เวลา และฤกษ์ที่เป็นมงคลอันจะบันดาล ให้เมือง เจริญรุ่งเรือง สืบไปอย่างไรก็ตาม เมื่อวันเวลาผ่านไป ย่อมมีบางช่วง ที่ดวงเมืองเบี่ยงเบน ตามลัคนา การทำบุญสืบชะตาเมืองจะช่วยให้เคราะห์ร้ายลดลงและสถานการณ์ต่างๆ กลับดีขึ้นไป การสืบชะตาของชาวล้านนาเทียบได้กับการทำบุญวันเกิด แต่มีพิธีการค่อนข้างละเอียดถี่ถ้วน
           โดยมีความเชื่อว่า หากกระทำแล้วจะช่วย สืบ อายุให้ยืนยาวต่อไป พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ จะกระทำในตัวเมือง 10 แห่ง คือที่กลางเวียง อันเคยเป็นสะดือเมือง ประตูทั้ง 5 ประตู และแจ่ง เวียง (มุมเมือง) ทั้ง 4 แจ่ง เมื่อมีพระบรม ราชานุสรณ์ สามกษัตริย์ มาประดิษฐาน ที่หน้าศาลากลางเก่า ตั้งแต่ พ.ศ.2526 การทำพิธีสืบชะตา ณ กลางเวียง ก็กระทำที่บริเวณอนุสาวรีย์ สามกษัตริย์ โดยมีพระสงฆ์ 9 รูปที่เหลืออีก 9 แห่งมีพระสงฆ์แห่งละ 11 รูป รวมทั้งสิ้นเป็น 108 รูป เท่ากับ จำนวน 108 มงคลในลัทธิพราหมณ์ และเท่ากับ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ รวม 108 ประการเช่นกัน
           พิธีสืบชะตาเมือง ซึ่งเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ.2511 นั้น จะกระทำขึ้นพร้อมๆกัน ทุกจุดในเวลา 07.00 นาฬิกา จะเริ่มพิธีสืบชะตาเมือง โดยเริ่มด้วย การจุดธูปเทียนบูชา พระรัตนตรัย สมาทานเบญจศีลพระภิกษุสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์แล้วแสดงธรรมเทศนา เมื่อจบแล้วจึงถวาย ภัตตาหารเพล แก่พระสงฆ์ หลังจาก เพลมีพิธีถวายไทยทาน พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ประกอบพิธี กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล แก่เทพยดาอารักษ์ ตลอดจนพระ วิญญาณ พญามังราย และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทุกพระองค์

 Report by ผศ.จินตนา มัธยมบุรุษ ผศ.ประสิทธิ์ เลียวสิริพงศ์
: From หนังสือ ตำนานอินทขิล (ฉบับสมโภช 600 ปีพระธาตุเจดีย์หลวง) พระธรรมดิลก (จันทร์ กุสโล)



| ป้ายตัวอักษรสแตนเลส | ป้ายตัวอักษรสังกะสี | ป้ายตัวอักษรทองเหลือง | ป้ายตัวอักษรทองแดง | อักษรโลหะ | ป้ายกล่องไฟ | สมัครงาน
 
Graphicproduce Co.,Ltd.
Tel/FAX:02-538-6823 Mobile:081-866-8060 E-mail: [email protected]
ที่อยู่: 5/4 หมู่บ้านกู๊ดวิลล์ ซอยนาคนิวาส 30 ถนนนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230